วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)


 ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
         จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1.   การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคลการติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์

2.      การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ

3.   การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น         


                                                      ตัวอย่างเว็บไซต์ www.moi.go.th




                       

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (ฺีBusiness-to-Consumer หรือ B2C)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น


ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ
1. การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) หมายถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น โดยยังไม่มีการรับสั่งสินค้าทางเครือข่าย
2. การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า แต่ยังคงชำระเงิน ด้วยวิธีการเดิม เช่น ชำระด้วยเช็ค หรือ บัตรเครดิตผ่านทางช่องทางปกติ
3. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า และชำระเงิน โดยในปัจจุบันการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มักชำระด้วยการบอกหมายเลขบัตรเครดิต ในอนาคตการชำระเงินอาจทำได้โดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money)
4. การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้าปลีกอย่างคลอบคลุม ตั้งแต่การโฆษณา การรับสั่งสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย ในกรณีที่สินค้า เป็นสินค้า สินค้าสารสนเทศ” (information goods) เช่น ข่าวสาร ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ หรือเพลงการจัดส่ง (delivery) สินค้าเหล่านี้ ยังสามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
5. การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การซื้อขายสินค้าทางการเงิน เช่น หลักทรัพย์ การซื้อขายสินค้าทั่วไป (commodity) เช่น น้ำมัน หรือทองคำ เป็นต้น
ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) จัดอยู่ในประเภทของE-COMMERCE คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต


                                                   ตัวอย่างเว็บไซค์  www.Se-ed.com




รุปแบบการสร้าง CRM กับลูกค้า


Web board
Investor  Relation
Se-ed learning Center
Comment
Se-ed book center

กลยุทธ์การตลาดของเว็บ มีดังนี้


1.มีส่วนลดให้กับผู้ที่เป็นสมาชิก
2.ในการสั่งซื้อหนังสือแต่ละครั้งจะมีส่วนลด จำนวนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับหนังสือแต่ละประเภท  ในบางเล่มลดถึง 50 %
3.ซื้อสินค้าครบ 600 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (เฉพาะพัสดุไปษณีย์ ภายในประเทศเท่านั้น)
4.หน้าเว็บไซต์มีโมดูลของสินค้าขายดี สินค้าแนะนำ สินค้าล่าสุด เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
5.หน้าเว็บไซต์มีรูปภาพที่น่าสนใจ และการค้นหาหนังสือก็หาง่ายแบ่งเป็นหมวดหมู่
 6.ความถี่ในการ update สินค้า  : จะ update สินค้าทุกๆ 1 สัปดาห์



จุดแข็ง

1.ในการค้นหาเว็บไซต์หลักจะสามารถพบร้านเป็นอันดับแรก
2.ขั้นตอนในการสั่งซื้อไม่ยุ่งยากและมีหลายวิธีให้เลือก
3.หน้าเว็บไซต์มีความน่าสนใจ อธิบายรายละเอียดสินค้า
4.มีบริการหลายอย่างอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า
5.มีการอัพเดตสินค้าใหม่ๆเสมอ

 จุดอ่อน

 1.หน้าเว็บไซต์ตัวอักษรเล็ก และเยอะมากไป
 2.ในการจัดบล็อกยังดูสับสนเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเยี่ยมชม













วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

E-Businesss หมายถึง


e-business (electronic business) มีที่มาจากคำ เช่น "e-mail" และ "e-commerce" ซึ่งเป็นการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตไม่เพียง การซื้อและการขาย แต่รวมถึงการบริหาร และการร่วมมือกับหุ้นส่วนธุรกิจ การใช้ครั้งแรก คือ IBM เมื่อตุลาคม ปี 1997 โดยการจัดทำ campaign รอบๆ คำนี้ ในปัจจุบัน บริษัท ส่วนใหญ่ได้คิดทบทวนธุรกิจของเขา ในความหมายของอินเตอร์เน็ต, วัฒนธรรมใหม่และความสามารถ บริษัทกำลังใช้เว็บในการซื้อชิ้นส่วน และวัสดุจากบริษัทอื่น ๆ การส่งเสริมการขายและการทำวิจัย โดยทำให้เกิดความสะดวก การนำเสนอ และการเข้าอินเตอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง บริษัทต่าง ๆ เช่น amazon.com ได้ค้นพบความสำเร็จในการใช้อินเตอร์เน็ต
         การเพิ่มขึ้นของการขายตรง (หรือ e-tailing) เป็นการเกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ของอุปกรณ์เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ รายงานการขายของ Dell computer มีการขายเป็นล้านเหรียญสหรัฐจากเว็บ การท่องเที่ยว หนังสือ ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นผลลัพธ์ จากวิจัยของเว็บและมีนัยยะสำคัญ ระบบความปลอดภัยที่มากับ browser และ digital certificate เป็นการให้สำหรับเอกชนและบริษัทจาก Verisign ผู้รับรองการเสนอ เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องแรก ๆ เกี่ยวกับทรานแซคชันทางธุรกิจที่ปลอดภัยบนเว็บ และ e-business
          IBM พิจารณากรพัฒนา intranet และ extranet เป็นส่วนหนึ่งของ e-business โดย e-business สามารถรวมถึง e-service สิ่งที่มองเห็นของการบริหารและหน้าที่บนอินเตอร์เน็ต ได้แก่ application service provider

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ C to C

         ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer : C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้

ตัวอย่าง เว็บไซต์  www.eBay.com








eBay คือชื่อเว็บและเครื่องหมายการค้าของ เว็บ www.eBay.com ซึ่งเป็นแหล่งประมูลออนไลน์ระดับโลก จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 1995 เดือนกันยายน จนปัจจุบันก็ได้เข้าตลาดหุ้นไปนานแล้ว ตาม slogan ของเว็บไซต์ "The World's Online Marketplace" ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มีผู้คนแวะเวียนมาจับจ่ายวันละเป็นหลายหมื่นหลายแสนคน ในทุกๆ วินาที เลยที่เดียว มีสินค้าจบการประมูล และ ปิดการขายมากกว่า ล้านชิ้น ทุกๆ วินาที เช่นกัน จากทุกหมวดหมู่สินค้า ซึ่งมีกว่า พันหมวดหมู่ย่อย

    อีเบย์ คือ ตลาดประมูลสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสินค้ามากถึง 14 ล้านชิ้น และมีสินค้าถูกประมูล 1,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งมีสินค้าไทยได้ถูกขายออกไปแล้ว มากกว่า 1 ล้านชิ้น และมีคนไทยมีรายได้จากอีเบย์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทสำหรับที่มาที่ไปคำว่า eBay นั้นจริงๆแล้วย่อมาจากคำว่า Echobay เพราะเป็นชื่อบริษัทดั้งเดิมของเจ้าของอีเบย์ ตอนแรกจะจดชื่อว่า Echobay แต่พอเช็คกลับกลายมีคนจดไปแล้ว ทั้งๆที่ช่วงนั้นคนจดโดเมนน้อยมาก ก็เลยย่อมาเป็นeBay.com

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
        •  เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
        •  ห้องสนทนา (Chat rooms)
        •  อีเมล์ (E-mail)
        •  FAQs (Frequent Answers and Questions)
        •  ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
        •  ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
        •  ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
        •  ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
        •  ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
        •  สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
        •  ความปลอดภัย (Safety)

วิธีการรักษาความปลอดภัย

        •  การใช้รหัส (Encryption)
        •  ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
        •  โปรโตคอล (Protocols)

กฎข้อระเบียบ

1. ผู้ขายในเมืองไทยต้องได้รับการยืนยันเลข 4 ตัวจาก PayPal เป็น Thai-Verified
2. ชื่ออีเบย์และใน PayPal ต้องตรงกัน และทำเรื่องผูกกันได้ที่: คลิกที่นี่
3. ห้ามขายของที่มี แบรนเนมลิขสิทธิ์ มีความเสี่ยงต่อการโดนระงับมากที่สุด

ข้อดี

*ลงสินค้าได้ไม่จำกัด ลงมากเท่าไหร่ก็ได้
*ค่าธรรมเนียมการลงสินค้าในร้านถูกกว่าแบบ auction - fixed price หลายเท่าตัวคือ 0.05 หรือ 0.20 ต่อชิ้นเท่านั้น อับเดท 2011
*สามารถตั้งเวลาได้ 30 หรือ ลงได้ตลอดไปจนกว่าจะขายออก (good till cancel) ลงได้ระยะยาวนาน คุ้ม
*สามารถแบ่ง categories สินค้าออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้คนซื้อสะดวกเลือกสบายในการเลือกสินค้า
*มีความน่าเชื่อถือ คนซื้อจะมองว่าเราร้านใหญ่ มีสินค้า และมีความน่าเชื่อถือมากกว่ารายย่อยที่ไม่เปิดร้าน

ข้อเสีย

*ค่าธรรมเนียมการขายแพงมาก 10-12% ต่อการขายเลยทีเดียว
*ต้องทำให้ได้มาตรฐานของอีเบย์ คือต้องรักษาระดับคะแนนความพึงพอใจลูกค้า โดยเฉพาะร้านแบบ premium จะต้องรักษาระดับสูงมากทำให้เราเครียด