วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปOnline Business with Google


SoLoMo (Social Location Mobile) เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งจะมีการบอกต่อ มีการแชร์กัน มีการเล่าเรื่อง มีการเปิดประเด็น มีเพื่อน และมีการระบุ Location หรือตำแหน่งผ่านระบบ GPS

ZMOT (Zero Moment of Truth) ช่วงเวลาที่ก่อกำเนิดกระบวนการคิดและการบวนการซื้อสินค้า
















Stimulus แรงกระตุ้นสำหรับผู้บริโภค ที่มาจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
First Moment of Truth การโฆษณาแล้วลูกค้าสนใจ
Second Moment of Truth ใช้แล้วบอกต่อ
ZMOT จะช่วยให้ลูกค้าทำการดูและค้นหาข้อมูลต่างๆ ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้า
การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ คือการค้นแล้วเจอ เจออยู่ในหน้าของการค้นหา
ถูกค้นพบ อยู่ในอันดับของการ search

เรียงลำดับตาม page rang (ต้องมีการปรับปรุงและมีการอัพเดทบทความในเว็บไซต์อยู่เสมอ)
การทำให้เว็บไซต์ขึ้นหน้าแรกของ google
Google adword เป็นโฆษณาที่ google ขาย ซึ่งเราจะเป็นคนเขียนโฆษณาด้วยตัวเอง

ทำอย่างไรให้ถูกค้นหา


  • การปรากฏตัวบนแผนที่ (google map)
  • ทำอย่างไรให้ใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น เช่น google+
  • Google+ Hangout เข้าไปใช้คุยวีดีโอ 10 พร้อมกัน เสมือน video conference  และสามารถดึงเอกสารออกมาดูพร้อมๆ กันได้
  •  วัดผลของการทำการตลาด
       
  • ดูประสิทธิภาพของ social media นั้นๆ
       
  • ประสิทธิภาพของโปรแกรมทางมือถือ
  • โชว์สินค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา
  •  ขายสินค้าได้ทั่วโลก
  • AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี
  • ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า

คำศัพท์




1.  Malware หมายถึง ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต และโทรจัน ที่มีพฤติกรรมรบกวนและสร้างความเสียหายแก่ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์
2.  SoLoMo (Social Location Mobile) หมายถึง เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการตลาดที่วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค
3.  Stimulus หมายถึง แรงกระตุ้นสำหรับผู้บริโภค ที่มาจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ
4.  First Moment of Truth หมายถึง การโฆษณาแล้วลูกค้าสนใจ
5.  Second Moment of Truth หมายถึง ใช้แล้วบอกต่อ

6. Performance หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการกระทำ
7. Go global หมายถึง เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานแอพลิเคชั่นจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
8. Keyword หมายถึง คำที่เราเน้นเป็นพิเศษ อาจจะเน้นคำเหล่านั้นด้วย การใช้ลิงค์ Link Tag
9. Online Marketing หมายถึง การตลาดที่มีการนำเอาอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เรียกว่า การทำการตลาดแบบออนไลน์
10. Traffic หมายถึง ปริมาณผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ที่ทำ SEO ก็เพื่อเพิ่มตรงนี้ละ
11. Content หมายถึง เนื้อหาภายในเว็บไซต์
12. Bounce Rate หมายถึง เปอร์เซ็นต์ของคนเข้าเว็บ และออกไปเลย (ไม่สนใจในเว็บของเรา) ยิ่งเปอร์เซ็นต์สูง ยิ่งไม่ดี

13.  Google AdWords หมายถึง โฆษณาในรูปแบบ pay per click 
14.  PageRank คืออัลกอริทึมที่ใช้การวิเคราะห์เว็บลิงก์ตามทฤษฎีเครือข่ายที่ใช้เป็นพื้นฐานในตัวเสิร์ชเอนจินของกูเกิล โดยเพจแรงก์จะแสดงเป็นค่าตัวเลขบ่งบอกถึงความความสำคัญของข้อมูลในกลุ่มของชุดข้อมูล ตัวเลขของเพจแรงก์ของกูเกิลในปัจจุบันจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 10
15. Success หมายถึง ประสิทธิผล การประสบความสำเร็จ
16. Rail time หมายถึง การทำงานแบบตอบสนองทันทีทันใด
17. mobile Site เปรียบเทียบกับการโฆษณาบน website ทั่วไปนั้น คือความไม่แออัด ของโฆษณา เนื่องจากปกติแล้วในแต่ละ mobile site จะมี banner โฆษณาเพียงหนึ่งชิ้นต่อหน้า แต่บนwebsite ทั่วไปมักจะมีหลายโฆษณา รูปแบบการโฆษณาผ่านมือถือ

18. Digital Marketing คือ การตลาดแบบดิจิตอล อาจเป็นสื่อ หรือเว็บไซต์ นำมาประยุกต์ใช้ทางการตลาด
19. URL หมายถึง Uniform Resource Locator หมายถึง ตัวบ่งบอกข้อมูล หรือ ที่อยู่ (Address) ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต

20.AEC หมายถึง ย่อมาจาก ASEAN  Economic  Community หรือประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน เป็นเป้าหมายสำหรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม








วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปการทำธุรกิจและการตลาดในยุคดิจิทัล 3.0

 

การตลาด 3.0 เป็นยุคการตลาดที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยม ที่มองผู้บริโภคในฐานะมนุษย์ ที่มีความคิด มีชีวิตจิตใจ ที่แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นที่ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกลับไปสู่ผู้ผลิตได้

Social Media

คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ เช่นบทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เรื่องราว หรือเนื้อหาอะไรบางอย่าง
Social Media หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองความต้องการทางด้านการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ในสังคมออนไลน์ ในกลุ่มสมาชิก
พื้นฐานการเกิด Social Media มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ ซึ่งผู้ใช้หรือสมาชิกจะเป็นผู้สร้างสื่อหรือเนื้อหาขึ้นมาเอง social media จึงเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลที่จะใช้เป็นแหล่งสื่อสารตอบสนองความต้องการซึ่งผู้ใช้สามารถตอบสนองกันได้

Change Of Consumers  (การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค)

การแสดงออกของผู้บริโภค ในยุคนี้  มีการกล้าแสดงออกมากขึ้น การมีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวต่างๆมากขึ้น มีการค้นหารับรู้ข้อมูลกว่าเมื่อก่อนที่ผู้บริโภคคอยรอรับแต่ข้อมูล  เพราะยุคนี้ผู้ซื้อจะใช้เทคโนโลยีในการค้นหาสินค้ามากขึ้น เช่น การ Search หาสินค้าใน Google,Ebay,Amazon
ผู้บริโภคในยุคนี้จะซื้อของส่วนมากจะเชื่อคนอื่นมากกว่าเราให้ข้อมูล เพราะผู้บริโภคจะคิดว่าเขาเองไม่มีส่วนได้เสีย มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น

การทำธุรกิจอย่างไรให้มีลูกค้าซื้อของและบอกต่อ

ผู้ประการต้องเข้าใจคำว่า Social  ต้องมีการโต้ตอบกับลูกค้าอย่างจริงใจ เมื่อลูกค้าถูกใจในบริการของเราแล้วก็จะทำให้ลูกค้าไปบอกต่อๆกันกับคนอื่นจนทำให้เรามีลูกค้ามากขึ้น  ตัวอย่าง ผมเป็นลูกค้าแล้วต้องการซื้อกางเกงยีนส์ แล้วไปเจอเว็บไซต์หนึ่ง เจอกางเกงที่ถูกใจสวยมากแล้วสอบถามไปยังผู้ขาย
แต่ไม่มีการตอบรับกลับมา ผมก็เกิดความกังวล คิดว่าไปดูที่อื่นดีกว่า นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ต่อให้คุณมีสินค้า
ที่สวยงาม มีเว็บไซต์ที่สวย แต่ขาดคำว่า Social ผู้ประกอบการก็พลาดโอกาสในการขายสินค้าไป
เชื่อได้เลยว่าถ้าผู้ประกอบการมีความสนใจลูกค้า คอยให้คำแนะนำ  ลูกค้าก็จะไว้และมีการบอกต่อๆกันไปทำให้ผู้ประกอบการมีลูกค้ามากขึ้นโอกาสในการขายสินค้าก็จะสูงขึ้น

ขั้นตอนในการสร้าง Brand ในยุค Social ERA

ประกอบด้วย
1. ทำอย่างไรให้คนรู้จักเรา การเข้าถึงลูกค้า
2. ผู้บริโภคต้องเริ่มเข้ามีมส่วนกับผู้ประกอบการ
3.ทำให้ผู้บริโภคลุกขึ้นมาลอง
4.เมื่อผู้บริโภคลองแล้วต้องทำให้ชอบ
5.ทำให้ผู้บริโภคเกิดการบอกต่อ
ุุ6.เปลี่ยนคำว่า Consumers ให้เป็นคำว่า Fans ให้ได้


คำศัพท์

1.Collaboration rules หมายถึง กฎการทำงานร่วมกัน
2.Co-Creation มาสู่สิ่งที่เรียกว่า Transformation หมายความถึง บทบาทจะอยู่ที่ผู้บริโภคมากกว่าอยู่ที่ผู้ผลิต อีกนัยหนึ่งคือ ผู้ผลิตมีหน้าที่สร้างขีดความสามารถให้กับผู้บริโภค จากนั้นผู้บริโภคจะเหมือนติดปีกและไปได้เอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้ผลิตเหมือนดังที่ผ่านมา
3.Consumer หมายถึง ผู้บริโภค
4.Brand Blogging หมายถึงบล็อกเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
5.Buzz marketing หมายถึง การสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จักและเกิดความต้องการในลักษณะของ การบอกต่อแบบปากต่อปาก
6.Dialogue หมายถึง การร่วมกันหาความหมาย
7.Digital Marketing  หมายถึงอีกฉากของพัฒนาการทางการตลาด โดยเฉพาะในยุคที่เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทในฐานะที่เป็นช่องทางการสื่อสาร
8.Online Community หมายถึงชุมชนที่มีสมาชิกเปิดใช้งานโดยการผ่านเข้าไปมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมของสมาชิก
9.Share หมายถึง การแบ่งปัน การบอกต่อ ข้อมูลของสินค้าหรือบริการ
10.Information หมายถึง เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามารถนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ
11.Owned Media หมายถึง เป็นสื่อสารที่เราสร้างขึ้นเอง
12.Marketing tip หมายถึง เคล็ดลับทางการตลาด
13.Relationship Maketing หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ทางการตลาด
14.Reviewer หมายถึงอ การสะท้อนกลับถึงข้อมูลสินค้าและบริการ
15.Chang of Marketing หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของตลาด
16.Customer Relationship Management (CRM) หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
17.Research and development (R&D) หมายถึง งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
18.Branding หมายถึง การสร้างแบรนด์ สร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์
19.Facebook   หมายถึง เว็บไซต์ Social Network เว็บหนึ่ง เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก 
20.Interdependence control of media หมายถึง การพึ่งพากันระหว่างสื่อ




วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร


ทำไมร้านค้าออนไลน์ในประเทศไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

จากประสบการณ์หลายๆควมาคิดเห็น ส่วนมากก็จะเกี่ยวกับ เรื่องความยุ่งยากบ้าง อยากเห็นสินค้าจริงๆก่อน กลัวว่านู่นนี้จะไม่ครบ  ห้างร้านใกล้บ้าน ก็มี  ซึ่งต่างจากต่างประเทศ ที่ห้างร้าน อยู่ไกลจากที่พักอาศัยมาก ทางเลือก การซื้อของออนไลน์ในต่างประเทศ จึงเป็นการสะดวก และนิยม แต่คนไทยส่วนมากที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการชำระเงินผ่าน Internet

สาเหตุหลักๆ

1. ร้านค้าภายในท้องถิ่นมีอยู่มากมาย เช่น Lotus,Big C,CareFul,Makro   และร้าน Minimart  ถั่วไปที่ผุดขึ้นมายังกับเห็ด อยากได้สินค้าชนิดใดก็จะเดินไปซื้อด้วยตนเอง
2. บุคคลส่วนมากทั่วไปในประเทศไทยยังขาดความรู้ในการใช้ Internet การที่จะให้มาซื้อของ ผ่านทาง Internet  ก็ยังเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องทั่วถึง
3. ผู้ประกอบส่วนใหญ่นึกถึงหน้าตาความสวยงามของเว็บไซต์อย่างเดียวแต่สิ่งสำคัญต้องคำนึงถึงผู้ใช้ที่เข้ามาในเว็บไซต์ด้วยคนไทยใจร้อน เข้าเว็บช้านิดช้าหน่อยก็จะไม่รอกันแล้วครับ ดังนั้นผู้ประกอบควรเล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการ โปรโมทสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
4. ส่วนมากเว็บไซต์นั้นจะเน้นการขายของมากกว่าการบริการ จึงขาดส่วนของการอธิบายเปรียบสินค้าว่าตัวไหนดีกว่ากัน ดังนั้นเว็บไวต์เหล่านั้นอาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆของลูกค้าต่างจากเว็บที่คอยให้คำปรึกษา
ลูกค้าว่าควรซื้อ ยี่ห้อ ชนิดไหน ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
5. เครื่องมือสื่อสารกับเจ้าของเว็บ ผู้ประกอบการ E-commerce ควรเป็น info@"ชื่อเมล".com
มากกว่า ฟรีเมล  อย่างเช่น  Hotmail,G-Mail,Yahoo  เพื่อให้ลูกค้าติดต่อเจ้าของเว็บได้อย่างแน่นอน


ปัจจัยที่ทำให้ E-commerce  ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ

ปัจจัยในสิ่งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีการดูแลเอาใจใส่ ในการขายสินค้าแต่ละชิ้น ผู้ประกอบต้องคิดวิเคราะห์ว่า สินค้าชิ้นที่จะขายนั้น มีคู่แข่งมากเท่าไร กลุ่มลูกค้าที่เราจะขายนั้นมีความต้องการเยอะหรือปล่าว ต้องศึกษาเกี่ยวสินค้านั้นอย่างละเอียด เพื่อให้การอธิบายรายละเอียดสินค้าให้กับลูกค้าสนใจมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้ E-commerce  ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. การนำเสนอสินค้าและบริการของสินค้าให้ลูกค้าเข้าใจง่ายมากที่สุด  ระบุรายละเอียดในการชำระเงิน การส่งสินค้า,การส่งคืนสินค้า ต่อลูกค้า
2. สามารถบอกรายละเอียดสินค้าให้ลูกค้าได้ ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับนึงเปรียบเทียบให้ลูกค้าได้ว่าต้องการสินค้าแบบใดที่เหมาะกับฐานะลูกค้า
3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าเราโดยการโปรโมทเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องเพิ่มการประชาสัมพันธ์กับช่องทางอื่นๆอาจจะทำเป็น Fanpage การทำ Backlink หรือมีบริการคืนกำไรให้กลับลูกค้า (เพราะยังไงในทุกสังคมก็ชอบเรื่องนี้กันทั้งนั้น )
4.การทำเว็บไซต์ให้ดุสะอาดตาเพื่อแรงจูงใจให้ลูกค้าดูน่าค้นหา แต่ตกแต่งเยอะเกินไปก็ต้องระวังเรื่องความล้าช้าของเว็บไซต์ด้วยนะครับ นี่คือสิ่งสำคัญ ถ้าหน้าเว็บของเราโหลดช้าลูกค้าก็จะไม่สนใจ เปรียบกับว่า เราเป็นลูกค้า สมมุติว่า เราต้องการหาข้อมูลอะไร เว็บนั้นโหลดช้า  เราก็เปลี่ยนเป้าหมายทันทีครับ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)


 ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย
         จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1.   การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคลการติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์

2.      การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ

3.   การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น         


                                                      ตัวอย่างเว็บไซต์ www.moi.go.th




                       

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (ฺีBusiness-to-Consumer หรือ B2C)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น


ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบที่สำคัญที่สุดของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ
1. การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) หมายถึงการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของบริษัทเท่านั้น โดยยังไม่มีการรับสั่งสินค้าทางเครือข่าย
2. การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า แต่ยังคงชำระเงิน ด้วยวิธีการเดิม เช่น ชำระด้วยเช็ค หรือ บัตรเครดิตผ่านทางช่องทางปกติ
3. การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสั่งซื้อสินค้า และชำระเงิน โดยในปัจจุบันการชำระเงินผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มักชำระด้วยการบอกหมายเลขบัตรเครดิต ในอนาคตการชำระเงินอาจทำได้โดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ (electronic money)
4. การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) หมายถึง การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้าปลีกอย่างคลอบคลุม ตั้งแต่การโฆษณา การรับสั่งสินค้า การชำระเงิน ตลอดจนการให้บริการหลังการขาย ในกรณีที่สินค้า เป็นสินค้า สินค้าสารสนเทศ” (information goods) เช่น ข่าวสาร ซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ หรือเพลงการจัดส่ง (delivery) สินค้าเหล่านี้ ยังสามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อีกด้วย
5. การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การซื้อขายสินค้าทางการเงิน เช่น หลักทรัพย์ การซื้อขายสินค้าทั่วไป (commodity) เช่น น้ำมัน หรือทองคำ เป็นต้น
ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) จัดอยู่ในประเภทของE-COMMERCE คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เน็ต


                                                   ตัวอย่างเว็บไซค์  www.Se-ed.com




รุปแบบการสร้าง CRM กับลูกค้า


Web board
Investor  Relation
Se-ed learning Center
Comment
Se-ed book center

กลยุทธ์การตลาดของเว็บ มีดังนี้


1.มีส่วนลดให้กับผู้ที่เป็นสมาชิก
2.ในการสั่งซื้อหนังสือแต่ละครั้งจะมีส่วนลด จำนวนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับหนังสือแต่ละประเภท  ในบางเล่มลดถึง 50 %
3.ซื้อสินค้าครบ 600 บาท ฟรีค่าจัดส่ง (เฉพาะพัสดุไปษณีย์ ภายในประเทศเท่านั้น)
4.หน้าเว็บไซต์มีโมดูลของสินค้าขายดี สินค้าแนะนำ สินค้าล่าสุด เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า
5.หน้าเว็บไซต์มีรูปภาพที่น่าสนใจ และการค้นหาหนังสือก็หาง่ายแบ่งเป็นหมวดหมู่
 6.ความถี่ในการ update สินค้า  : จะ update สินค้าทุกๆ 1 สัปดาห์



จุดแข็ง

1.ในการค้นหาเว็บไซต์หลักจะสามารถพบร้านเป็นอันดับแรก
2.ขั้นตอนในการสั่งซื้อไม่ยุ่งยากและมีหลายวิธีให้เลือก
3.หน้าเว็บไซต์มีความน่าสนใจ อธิบายรายละเอียดสินค้า
4.มีบริการหลายอย่างอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า
5.มีการอัพเดตสินค้าใหม่ๆเสมอ

 จุดอ่อน

 1.หน้าเว็บไซต์ตัวอักษรเล็ก และเยอะมากไป
 2.ในการจัดบล็อกยังดูสับสนเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ไม่เคยเยี่ยมชม













วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

E-Businesss หมายถึง


e-business (electronic business) มีที่มาจากคำ เช่น "e-mail" และ "e-commerce" ซึ่งเป็นการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตไม่เพียง การซื้อและการขาย แต่รวมถึงการบริหาร และการร่วมมือกับหุ้นส่วนธุรกิจ การใช้ครั้งแรก คือ IBM เมื่อตุลาคม ปี 1997 โดยการจัดทำ campaign รอบๆ คำนี้ ในปัจจุบัน บริษัท ส่วนใหญ่ได้คิดทบทวนธุรกิจของเขา ในความหมายของอินเตอร์เน็ต, วัฒนธรรมใหม่และความสามารถ บริษัทกำลังใช้เว็บในการซื้อชิ้นส่วน และวัสดุจากบริษัทอื่น ๆ การส่งเสริมการขายและการทำวิจัย โดยทำให้เกิดความสะดวก การนำเสนอ และการเข้าอินเตอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง บริษัทต่าง ๆ เช่น amazon.com ได้ค้นพบความสำเร็จในการใช้อินเตอร์เน็ต
         การเพิ่มขึ้นของการขายตรง (หรือ e-tailing) เป็นการเกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ของอุปกรณ์เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ รายงานการขายของ Dell computer มีการขายเป็นล้านเหรียญสหรัฐจากเว็บ การท่องเที่ยว หนังสือ ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นผลลัพธ์ จากวิจัยของเว็บและมีนัยยะสำคัญ ระบบความปลอดภัยที่มากับ browser และ digital certificate เป็นการให้สำหรับเอกชนและบริษัทจาก Verisign ผู้รับรองการเสนอ เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องแรก ๆ เกี่ยวกับทรานแซคชันทางธุรกิจที่ปลอดภัยบนเว็บ และ e-business
          IBM พิจารณากรพัฒนา intranet และ extranet เป็นส่วนหนึ่งของ e-business โดย e-business สามารถรวมถึง e-service สิ่งที่มองเห็นของการบริหารและหน้าที่บนอินเตอร์เน็ต ได้แก่ application service provider

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือ C2C)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ C to C

         ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer to Consumer : C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้

ตัวอย่าง เว็บไซต์  www.eBay.com








eBay คือชื่อเว็บและเครื่องหมายการค้าของ เว็บ www.eBay.com ซึ่งเป็นแหล่งประมูลออนไลน์ระดับโลก จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 1995 เดือนกันยายน จนปัจจุบันก็ได้เข้าตลาดหุ้นไปนานแล้ว ตาม slogan ของเว็บไซต์ "The World's Online Marketplace" ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มีผู้คนแวะเวียนมาจับจ่ายวันละเป็นหลายหมื่นหลายแสนคน ในทุกๆ วินาที เลยที่เดียว มีสินค้าจบการประมูล และ ปิดการขายมากกว่า ล้านชิ้น ทุกๆ วินาที เช่นกัน จากทุกหมวดหมู่สินค้า ซึ่งมีกว่า พันหมวดหมู่ย่อย

    อีเบย์ คือ ตลาดประมูลสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสินค้ามากถึง 14 ล้านชิ้น และมีสินค้าถูกประมูล 1,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งมีสินค้าไทยได้ถูกขายออกไปแล้ว มากกว่า 1 ล้านชิ้น และมีคนไทยมีรายได้จากอีเบย์ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทสำหรับที่มาที่ไปคำว่า eBay นั้นจริงๆแล้วย่อมาจากคำว่า Echobay เพราะเป็นชื่อบริษัทดั้งเดิมของเจ้าของอีเบย์ ตอนแรกจะจดชื่อว่า Echobay แต่พอเช็คกลับกลายมีคนจดไปแล้ว ทั้งๆที่ช่วงนั้นคนจดโดเมนน้อยมาก ก็เลยย่อมาเป็นeBay.com

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า

มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น
        •  เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page)
        •  ห้องสนทนา (Chat rooms)
        •  อีเมล์ (E-mail)
        •  FAQs (Frequent Answers and Questions)
        •  ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
        •  ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers)

การรักษาความปลอดภัย

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
        •  ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
        •  ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
        •  ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
        •  สิทธิส่วนบุคคล  (Privacy)
        •  ความปลอดภัย (Safety)

วิธีการรักษาความปลอดภัย

        •  การใช้รหัส (Encryption)
        •  ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
        •  โปรโตคอล (Protocols)

กฎข้อระเบียบ

1. ผู้ขายในเมืองไทยต้องได้รับการยืนยันเลข 4 ตัวจาก PayPal เป็น Thai-Verified
2. ชื่ออีเบย์และใน PayPal ต้องตรงกัน และทำเรื่องผูกกันได้ที่: คลิกที่นี่
3. ห้ามขายของที่มี แบรนเนมลิขสิทธิ์ มีความเสี่ยงต่อการโดนระงับมากที่สุด

ข้อดี

*ลงสินค้าได้ไม่จำกัด ลงมากเท่าไหร่ก็ได้
*ค่าธรรมเนียมการลงสินค้าในร้านถูกกว่าแบบ auction - fixed price หลายเท่าตัวคือ 0.05 หรือ 0.20 ต่อชิ้นเท่านั้น อับเดท 2011
*สามารถตั้งเวลาได้ 30 หรือ ลงได้ตลอดไปจนกว่าจะขายออก (good till cancel) ลงได้ระยะยาวนาน คุ้ม
*สามารถแบ่ง categories สินค้าออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้คนซื้อสะดวกเลือกสบายในการเลือกสินค้า
*มีความน่าเชื่อถือ คนซื้อจะมองว่าเราร้านใหญ่ มีสินค้า และมีความน่าเชื่อถือมากกว่ารายย่อยที่ไม่เปิดร้าน

ข้อเสีย

*ค่าธรรมเนียมการขายแพงมาก 10-12% ต่อการขายเลยทีเดียว
*ต้องทำให้ได้มาตรฐานของอีเบย์ คือต้องรักษาระดับคะแนนความพึงพอใจลูกค้า โดยเฉพาะร้านแบบ premium จะต้องรักษาระดับสูงมากทำให้เราเครียด